![]() |
ที่มาภาพ : ประเทศอินโดนีเซีย |
28 ตุลาคม 2561
4 สถานที่ท่องเที่ยวประเทศอินโดนีเซียที่มนุษย์สร้างขึ้นแบบอลังการณ์งานสร้าง
26 ตุลาคม 2560
พิพิธภัณฑ์หลวงพระบาง (พระราชวังหลวงพระบาง) : การผสมผสานระหว่างศิลปะยุโรปและล้านช้าง
นันท์นภัส ศิลป์มานะกิจ.
พระราชวังหลวงพระบาง หรือ วังเจ้ามหาชีวิต ตั้งอยู่ที่ตรงข้ามทางขึ้นพระธาตุพูสี สร้างขึ้นในสมัยของเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์ (พ.ศ.2447) มาถึงสมัยเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนา ซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์องค์สุดท้ายของประเทศลาว ต่อมาหลังจากมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง (2518) ก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงพระราชวังมาเป็น พิพิธภัณฑ์ โดยรัฐบาลลาว ปัจจุบันเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญที่มีนักท่องเที่ยวมากมายมาเยี่ยมชม
ลักษณะอาคาร เป็นอาคารแบบฝรั่งแต่หลังคาเป็นแบบทรงลาว ออกแบบโดยสถาปนิกชาวฝรั่งเศส ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานระหว่างฝรั่งเศสและลาว ส่วนตัวพระราชวังเป็นอาคารชั้นเดียวยกพื้นสูง ภายในพระราชวังจัดแสดงประวัติศาสตร์อันเก่าแก่ของเมืองหลวงพระบาง
ในปี พ.ศ. 2519 หลังจากที่ไม่มีพระมหากษัตริย์ประทับอยู่ที่นี่อีกต่อไปแล้ว ลักษณะแผนผังของตัวพระราชวังประกอบด้วยอาคารขวางด้านหน้า หลังคามุงกระเบื้อง ตรงกลางมีมุขยื่นออกมา มีหน้าบันเป็นรูปช้าง 3 เศียร มีฉัตรกางอยู่ตรงกลางข้างบน อันเป็นสัญลักษณ์ของราชอาณาจักรลาวล้านช้างในระบอบเดิม เบื้องหลังท้องพระโรงเป็นอาคารที่มีหลังคาเป็นยอดปราสาทหลังเดียวมองเห็นเป็นสง่าเด่นชัดจากภายนอกตัวอาคาร โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน
ห้องทางซ้าย : เดิมเป็นห้องรับแขกของพระมเหสี ปัจจุบันเป็นห้องจัดแสดงสิ่งของที่ทางประเทศต่างๆ นำมาให้เป็นของขวัญ
ห้องทางขวา : เดิมเป็นห้องรับแขกของเจ้ามหาชีวิต ปัจจุบันมีภาพเขียนบนผืนผ้าใบตั้งแต่สมัย 2473 ติดอยู่ที่ผนังยาวไปจนถึงเพดาน เป็นเรื่องราวของจารีตประเพณีของคนลาว หรือที่คนลาวเรียกกันว่า “ฮีตคลอง”
ห้องสุดท้าย : ถูกจัดเป็นห้องสำหรับ พระบาง พระคู่บ้านคู่เมืองหลวงพระบาง ซึ่งพระบางนั้นเป็นพระพุทธรูปปางห้ามสมุทร เป็นศิลปะสมัยบายนของเขมร อายุประมาณ 300 ปี หล่อด้วยทองคำบริสุทธิ์ 90% จึงเป็นที่มาของชื่อเมืองหลวงพระบาง อันหมายถึง เมืองที่มีพระบางประดิษฐานอยู่ และเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปนาคปรก สลักด้วยหินในรูปแบบศิลปะเขมรอีก 4 องค์ และมีกลองมโหระทึกอีกหลายใบ นอกจากนั้นยังมีพวงมาลาของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ซึ่งถวายเป็นพุทธบูชาไว้เมื่อครั้งเสด็จมายังประเทศลาวและเมืองหลวงพระบาง เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2533
ในปัจจุบันพิพิธภัณฑ์หลวงพระบางเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญในประเทศลาว เนื่องจากเป็นสถานที่ที่เก็บประวัติศาสตร์ของชาติไว้มากมาย นักท่องเที่ยวนิยมเยี่ยมชมในช่วงเช้าหลังจากที่เดินตลาดเช้าของหลวงพระบางเสร็จ เมื่อมาแล้วควรที่จะไปสักการะ พระบาง เพื่อความเป็นสิริมงคล ซึ่งเป็นสเน่ห์อย่างยิ่งที่ไม่ควรพลาด
*ต้องแต่งกายสุภาพในการเข้าชมสถานที่
*ห้ามถ่ายภาพภายในตัวพิพิธภัณฑ์
อ้างอิง
ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง. (2555). พระราชวังหลวงพระบาง (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2560, จาก http://luangprabangtour.com/
AUAU AAUU. (2556). พระราชวังหลวงพระบาง | เที่ยวลาว (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2560, จาก http://laos-travel.blogspot.com/2013/09/blog-post.html
ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง. (2557). ข้อมูลเที่ยวลาว : พระราชวังหลวงพระบาง (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2560, จาก https://www.thaifly.com/index.php?route=news/news&news_id=872
อัญชนา แก้วสกด. (ม.ป.ป.). พระราชวังหลวงพระบาง (ประเทศลาว) (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2560, จาก https://sites.google.com/site/xaychnakaewskd/phrarachwang-hlwng-phra-bang-prathes-law
พระราชวังหลวงพระบาง หรือ วังเจ้ามหาชีวิต ตั้งอยู่ที่ตรงข้ามทางขึ้นพระธาตุพูสี สร้างขึ้นในสมัยของเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์ (พ.ศ.2447) มาถึงสมัยเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนา ซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์องค์สุดท้ายของประเทศลาว ต่อมาหลังจากมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง (2518) ก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงพระราชวังมาเป็น พิพิธภัณฑ์ โดยรัฐบาลลาว ปัจจุบันเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญที่มีนักท่องเที่ยวมากมายมาเยี่ยมชม
ลักษณะอาคาร เป็นอาคารแบบฝรั่งแต่หลังคาเป็นแบบทรงลาว ออกแบบโดยสถาปนิกชาวฝรั่งเศส ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานระหว่างฝรั่งเศสและลาว ส่วนตัวพระราชวังเป็นอาคารชั้นเดียวยกพื้นสูง ภายในพระราชวังจัดแสดงประวัติศาสตร์อันเก่าแก่ของเมืองหลวงพระบาง
ในปี พ.ศ. 2519 หลังจากที่ไม่มีพระมหากษัตริย์ประทับอยู่ที่นี่อีกต่อไปแล้ว ลักษณะแผนผังของตัวพระราชวังประกอบด้วยอาคารขวางด้านหน้า หลังคามุงกระเบื้อง ตรงกลางมีมุขยื่นออกมา มีหน้าบันเป็นรูปช้าง 3 เศียร มีฉัตรกางอยู่ตรงกลางข้างบน อันเป็นสัญลักษณ์ของราชอาณาจักรลาวล้านช้างในระบอบเดิม เบื้องหลังท้องพระโรงเป็นอาคารที่มีหลังคาเป็นยอดปราสาทหลังเดียวมองเห็นเป็นสง่าเด่นชัดจากภายนอกตัวอาคาร โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน
ห้องทางซ้าย : เดิมเป็นห้องรับแขกของพระมเหสี ปัจจุบันเป็นห้องจัดแสดงสิ่งของที่ทางประเทศต่างๆ นำมาให้เป็นของขวัญ
ห้องทางขวา : เดิมเป็นห้องรับแขกของเจ้ามหาชีวิต ปัจจุบันมีภาพเขียนบนผืนผ้าใบตั้งแต่สมัย 2473 ติดอยู่ที่ผนังยาวไปจนถึงเพดาน เป็นเรื่องราวของจารีตประเพณีของคนลาว หรือที่คนลาวเรียกกันว่า “ฮีตคลอง”
ห้องสุดท้าย : ถูกจัดเป็นห้องสำหรับ พระบาง พระคู่บ้านคู่เมืองหลวงพระบาง ซึ่งพระบางนั้นเป็นพระพุทธรูปปางห้ามสมุทร เป็นศิลปะสมัยบายนของเขมร อายุประมาณ 300 ปี หล่อด้วยทองคำบริสุทธิ์ 90% จึงเป็นที่มาของชื่อเมืองหลวงพระบาง อันหมายถึง เมืองที่มีพระบางประดิษฐานอยู่ และเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปนาคปรก สลักด้วยหินในรูปแบบศิลปะเขมรอีก 4 องค์ และมีกลองมโหระทึกอีกหลายใบ นอกจากนั้นยังมีพวงมาลาของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ซึ่งถวายเป็นพุทธบูชาไว้เมื่อครั้งเสด็จมายังประเทศลาวและเมืองหลวงพระบาง เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2533
(พระบาง)
ในปัจจุบันพิพิธภัณฑ์หลวงพระบางเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญในประเทศลาว เนื่องจากเป็นสถานที่ที่เก็บประวัติศาสตร์ของชาติไว้มากมาย นักท่องเที่ยวนิยมเยี่ยมชมในช่วงเช้าหลังจากที่เดินตลาดเช้าของหลวงพระบางเสร็จ เมื่อมาแล้วควรที่จะไปสักการะ พระบาง เพื่อความเป็นสิริมงคล ซึ่งเป็นสเน่ห์อย่างยิ่งที่ไม่ควรพลาด
*ต้องแต่งกายสุภาพในการเข้าชมสถานที่
*ห้ามถ่ายภาพภายในตัวพิพิธภัณฑ์
อ้างอิง
ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง. (2555). พระราชวังหลวงพระบาง (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2560, จาก http://luangprabangtour.com/
AUAU AAUU. (2556). พระราชวังหลวงพระบาง | เที่ยวลาว (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2560, จาก http://laos-travel.blogspot.com/2013/09/blog-post.html
ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง. (2557). ข้อมูลเที่ยวลาว : พระราชวังหลวงพระบาง (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2560, จาก https://www.thaifly.com/index.php?route=news/news&news_id=872
อัญชนา แก้วสกด. (ม.ป.ป.). พระราชวังหลวงพระบาง (ประเทศลาว) (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2560, จาก https://sites.google.com/site/xaychnakaewskd/phrarachwang-hlwng-phra-bang-prathes-law
24 ตุลาคม 2560
“ปุระเบซาคิห์” มนต์สเน่ห์ศิลปะบาหลี
นันท์นภัส ศิลป์มานะกิจ
ปุระเบซาคิห์ เป็นวัดในศาสนาฮินดูที่ใหญ่ที่สุดของบาหลี สร้างขึ้นราว ค.ศ.8
และได้รับการขยายมาเรื่อยจนในช่วง ค.ศ.14-18 มีการสร้างวัดและแท่นบูชาเพิ่มเติมมากมาย
ปัจจุบันประกอบไปด้วยวัดเล็กๆ เกือบ 30 แห่ง
เรียงรายอยู่เป็นขั้นๆกว่า 7 ขั้นไปตามไหล่เขา
ในทุกวันจะมีชาวบาหลีเดินทางมาเพื่อประกอบพิธีกรรมทางศาสนาอย่างไม่ขาดสาย ั้นไปตามไหล่เขาว่า วัดเล็กๆ เกือบ
กมายโคปุระที่สร้างด้วยอิฐหรือหิน ่มีฐานันดรสูง
หลังคาลาดมุงฟางนี้ย่อมทำให้อาคารทรงเมรุได้รับก
ในศิลปะบาหลี
ปุระ (วัด) สามารถแบ่งออกได้หลายประเภทตามลักษณะที่ตั้ง โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น
ปุระที่ตั้งอยู่บนเชิงเขา (Pura Bukit) ปุระที่ตั้งอยู่ในหมู่บ้านหรือในตลาด (Pura Pasar) และปุระที่ตั้งอยู่ริมทะเล
(Pura Sagara)
ปุระเบซาคิห์
ถือเป็นตัวอย่างของปุระที่ตั้งอยู่บนเชิงเขา
เนื่องจากเป็นวัดที่สร้างขึ้นเพื่อบูชาเขากุหนุงอากุง (Gunung Akung) ภูเขาที่สูงที่สุดในบาหลี
ซึ่งถือเป็นศูนย์กลางจักรวาลและเป็นเขาพระสุเมรุที่ประทับของพระศิวะ
และยังเป็นวัดหลวงที่สร้างขึ้นโดยกษัตริย์
ถูกยกให้เป็นวัดประจำราชวงศ์บาหลีหลายราชวงศ์ เช่น กลุงกลุง การังกาเซม และเบงคลี
พนักขั้นบันไดด้านหน้าโคปุระ
ในปุระเบซาคิห์มีการแบ่งออกเป็น
3 ลาน
โดยชั้นนอกสุดจะตั้งอยู่บนพื้นที่ราบแต่ลานชั้นในสุดจะตั้งอยู่บนยอดเนินเขา
เพราะถือว่าลานด้านหน้าเป็นโลกมนุษย์ ลานด้านในเป็นสวรรค์
ดังนั้นลานด้านหน้าและลานด้านในย่อมอยู่ในพื้นที่ต่างระดับกันและทำให้เกิดการออกแบบที่ลาดเชิงเขาระหว่างลานด้านหน้ากับลานด้านในให้กลายเป็นพนักขั้นบันได
อาคารทรงเมรุ
เป็นอาคารทรงปราสาทในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส
ซ้อนชั้นด้วยหลังคาลาดมุงฟางจำนวนหลายชั้น
ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของอาคารที่มีฐานันดรสูง หลังคาลาดมุงฟางนี้ย่อมทำให้อาคารทรงเมรุได้รับการซ่อมแซมอยู่อย่างสม่ำเสมอ
แตกต่างไปจากโคปุระที่สร้างด้วยอิฐหรือหิน
ปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวมากมายที่ต้องการชมศิลปะบาหลีที่ปุระเบซาคิห์แห่งนี้
เนื่องจากในทุกวันจะมีชาวบาหลีเดินทางมาประกอบพิธีทางศาสนา ทำให้เป็นสถานที่ที่สามารถเห็นธรรมเนียมประเพณีและการแต่งกายแบบพื้นเมืองทั้งชายและหญิง
รวมทั้งการแบกทูนของบูชาบนศรีษะตามแบบดั้งเดิม
ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นสเน่ห์ที่น่าหลงใหลของศิลปะบาหลีที่พลาดไม่ได้
อ้างอิง
เชษฐ์ ติงสัญชลี. (ม.ป.ป.). ปุระเบซาคิห์
(ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2560, จาก http://art-in-sea.com/th/data/indonesia-art/bali-java-art/itemlist/category/43-pura-besakhih.html?start=2
Supawan. (2550). ปูรา เบซากิห์
อลังการแห่งเทวาลัย บาหลี : Pura Besakih (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2560, จาก http://oknation.nationtv.tv/blog/supawan/2011/12/12/entry-2
20 ตุลาคม 2560
“ฮอยอัน” เมืองโบราณในเวียดนาม
นันท์นภัส
ศิลป์มานะกิจ
เมืองโบราณฮอยอัน
ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำทูโบน บริเวณริมทะเลจีนใต้ทางตอนกลางของประเทศเวียดนาม ในเขตจังหวัดกว๋างนาม ในสมัยของอาณาจักรจามปา
บริเวณนี้เคยเป็นเมืองท่าบนปากแม่น้ำทูโบน
โดยเป็นศูนย์กลางทางการค้าในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 - 17 มีชาวต่างชาติมาตั้งถิ่นฐานและค้าขายในเมืองนี้เป็นจำนวนมาก
ฮอยอัน
เป็นเมืองที่ถูกแบ่งออกเป็นสองฝั่งโดยมีคลองคั่นกลาง มีสะพานญี่ปุ่นทอดข้ามคลองเพื่อกั้นแบ่งเขตชุมชนของชาวญี่ปุ่นที่อีกฝั่งหนึ่งของคลองจากชุมชนจีน
สะพานดังกล่าวสร้างโดยชาวญี่ปุ่น มีลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นตัวสะพานเป็นทรงโค้ง มีหลังคาเหนือสะพาน โดยหลังคาจะมุงกระเบื้องสีเขียวและเหลืองเป็นคลื่น
กลางสะพานมีเจดีย์ทรงจัตุรัสที่ผู้ผ่านไปมามักหยุดสักการะ
หัวสะพานฝั่งหนึ่งมีรูปปั้นลิง อีกฝั่งเป็นรูปปั้นสุนัข
อันแสดงถึงระยะเวลาในการสร้างสะพานแห่งนี้ตามปีนักษัตร นอกจากนี้
ยังมีวัดญี่ปุ่นตั้งอยู่ด้านขวามือของตัวสะพาน ทำให้สะพานดังกล่าว
มีชื่ออีกชื่อหนึ่งว่าสะพานวัด หรือ Pagoda
Bridge
สเน่ห์อีกอย่างหนึ่งของเมืองฮอยอัน
คือการชมบ้านประจำตระกูลเก่าแก่ที่ยังงดงาม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบ้านของชาวจีนที่สมัยก่อนเข้ามาติดต่อค้าขาย
มีอายุเกือบร้อยปี โดยลักษณะบ้านจะเป็นบ้านไม้และบ้านปูนเก่าที่ถูกสร้างอย่างประณีต
ด้านในบ้านมักประดับคำสั่งสอนและบทกลอนจีน
จากการที่เวียดนามอยู่ภายใต้การครอบครองของจีนมานับพันปี ทำให้อิทธิพลของจีนเข้ามามีบทบาทต่อสภาพสังคมและวัฒนธรรมอย่างมาก ประกอบกับแต่เดิมฮอยอันเป็นเมืองท่าที่เป็นศูนย์กลางการค้าโดยมีชาวจีนและชาวญี่ปุ่นเข้ามาค้าขายกันอย่างมาก ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนและการผสมผสานทางวัฒนธรรมที่สะท้อนออกมาในรูปแบบของสถาปัตยกรรมไว้อย่างลงตัว ทั้งหมดนี้ล้วนแต่เป็นเสน่ห์ของเมืองฮอยอันและยังคงได้รับการบำรุงรักษาจากชาวเมืองฮอยอันจนถึงปัจจุบัน
อ้างอิง
อัสมา สิมารักษ์. (2552). ผลกระทบของการท่องเที่ยวต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมในเมืองฮอยอัน
ประเทศเวียดนาม ภายหลังได้รับการประกาศให้เป็นเมืองมรดกโลก (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต).
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่
Warittha. (2556).
เสน่ห์เมืองฮอยอัน หนึ่งในมรดกทางวัฒนธรรมของเวียดนาม (ออนไลน์).
สืบค้นเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2560, จาก
http://www.modernpublishing.co.th/
ลำเจียก สองสีดา.
(2542). มรดกโลกในเวียดนาม2 :
เมืองโบราณฮอยอัน (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม
2560, จาก http://aseannotes.blogspot.com/2014/07/2.html
Sanfah
TV&EVENT. (2558). สมุดโคจร ตอนฮอยอัน เมืองมรดกโลก. สืบค้นเมื่อวันที่
20 ตุลาคม 2560, จาก https://www.youtube.com/watch?v=idp1no4js5s
16 ตุลาคม 2560
โบสถ์บาโรคแห่งฟิลิปปินส์
โบสถ์บาโรคแห่งฟิลิปปินส์
(Baroque
Churches of the Philippines) ประกอบด้วยโบสถ์โรมันคาทอลิก 4 แห่ง ได้แก่ โบสถ์ซานออกัสติน,
โบสถ์ซานตามาเรีย, โบสถ์ซานอกัสติน และโบสถ์ซานโต สร้างขึ้นในช่วงที่ฟิลิปปินส์เป็นอาณานิคมของสเปน
โดยมีรูปแบบทางสถาปัตยกรรมที่เป็นเอกลักษณ์คือการแสดงความเป็นบาโรคของยุโรปที่ผสมผสานลวดลายแบบจีน
โดยช่างฝีมือชาวจีนและชาวฟิลิปปินส์
1. โบสถ์ซานออกัสติน
ในกรุงมะนิลา (San
Agustin Church in Manila)
เป็นโบสถ์คาทอลิกแห่งแรกที่สร้างบนเกาะลูซอน
ทันทีที่สเปนมีชัยเหนือกรุงมะนิลา
ซึ่งโบสถ์แห่งนี้ถูกนับเป็นตัวอย่างสถาปัตยกรรมแบบบาโรค มีความโดดเด่นด้วยการประดับโครงสร้างอย่างสวยงาม
บนเพดานเป็นวงโค้งและมีภาพวาดลวงตาบนเพดาน เน้นแสงเงาตัดกันโดยปรับให้เข้ากับสภาพอากาศของฟิลิปปินส์
2. โบสถ์ซานตามาเรีย ในอิโลโกสซูร์
(Santa Maria Church in Ilocos Sur)
เป็นสิ่งที่ให้ระลึกถึง 4 ศตวรรษของการปกครองของสเปนในพื้นที่
ตัวอาคารโบสถ์ก่ออิฐสีแดงโดดเด่น มีโครงสร้างที่ป้องกันการถล่มเนื่องจากแผ่นดินไหว
ตัวโบสถ์สร้างขึ้นบนเนินเขา ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นจุดชมวิวและเป็นป้อมปราการเท่านั้น
แต่เป็นศูนย์กลางทางศาสนาในยุคแรกของการบริหารภูมิภาค
โดยคริสต์ศาสนาและทหารของสเปน
3. โบสถ์ซานอกัสติน
ในปาโออาย จังหวัดอิโลโคสนอร์เต (San
Agustin Church in Paoay, Ilocos Norte)
รู้จักกันทั่วไปในชื่อ โบสถ์ปาโออาย (Paoay Church) สร้างจาก อิฐ หินปะการัง
และไม้แปรรูป ตัวโบสถ์เป็นศิลปะผสมระหว่างแบบกอทิกและบาโรค
รวมทั้งได้รับอิทธิพลของศิลปะแบบจีนและชวา
มีชื่อเสียงจากสถาปัตยกรรมที่เน้นคานขนาดใหญ่ที่ด้านข้างและด้านหลังของอาคาร
มีหอระฆังสร้างขึ้นจากหินปะการังใช้เป็นหอสังเกตการณ์ในช่วงการปฏิวัติฟิลิปปินส์ปี
ค.ศ.1896
4. โบสถ์ซานโต
โทมัส เดอ วิลลานูวา ในไมอากาโออิโลอิโล (Sto.
Tomas de Villanueva Church in Miagao, Iloilo)
เป็นสถานที่ปฏิบัติภาระกิจทางศาสนาและ
ยังทำหน้าที่เป็นป้อมปราการเพื่อต้านทานการรุกรานที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โบสถ์แห่งนี้ถูกทำลายลงโดยการรุกรานโจรสลัดมุสลิมในปี
ค.ศ 1741 แต่ปัจจุบันถูกสร้างขึ้นใหม่ในทำเลที่ปลอดภัยมากขึ้น
โบสถ์ทั้ง 4
แห่ง ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกรวมกันในปี
พ.ศ.2536
เป็นโบสถ์ที่แสดงถึงการเข้ามาของศาสนาคริสต์โรมันคาทอลิกในฟิลิปปินส์และเป็นศูนย์กลางอำนาจของสเปนในสมัยนั้น ซึ่งศาสนามีอิทธิพลในทางการเมืองมาก
ทำให้คริสตจักรจึงกลายเป็นเป้าหมายของการโจมตีจากการปฏิวัติและการก่อกบฏในประเทศ
โบสถ์เหล่านี้จึงไม่ใช่มีเพียงสิ่งก่อสร้างที่ให้บริการทางศาสนาเท่านั้น
แต่ยังปรากฏสิ่งก่อสร้างในลักษณะป้อมปราการอยู่ด้วย
อ้างอิง
วราพรรณ
พูลสวัสดิ์และนัชรี อุ่มบางตลาด. (ม.ป.ป.).
มรดกโลกในฟิลิปปินส์2 : โบสถ์บาโรคแห่งฟิลิปปินส์.
(ออนไลน์).สืบค้นเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2560,
จาก http://aseannotes.blogspot.com/2014/08/2.html
จาก http://aseannotes.blogspot.com/2014/08/2.html
เชษฐ์ ติงสัญชลี. (ม.ป.ป.). โบสถ์ซาตามาเรีย.
(ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2560,
เชษฐ์ ติงสัญชลี. (ม.ป.ป.). โบสถ์เมืองปาวาย.
(ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2560,
ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง. (2556). โบสถ์ซานอะกุสติน (San Agustin Church). (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2560,จาก http://www.hiclasssociety.com/?p=38473
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
4 สถานที่ท่องเที่ยวประเทศอินโดนีเซียที่มนุษย์สร้างขึ้นแบบอลังการณ์งานสร้าง
ที่มาภาพ : ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศอินโดนีเซีย หรือ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนติดกับปร...

-
โบสถ์บาโรคแห่งฟิลิปปินส์ ( Baroque Churches of the Philippines ) ประกอบด้วยโบสถ์โรมันคาทอลิก 4 แห่ง ได้แก่ โบสถ์ซานออกัสติน, ...
-
นันท์นภัส ศิลป์มานะกิจ เมืองโบราณฮอยอัน ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำทูโบน บริเวณริม ทะเลจีนใต้ ทางตอนกลางของ ประเทศเวียดนาม ...
-
นันท์นภัส ศิลป์มานะกิจ บุโรพุทโธ ( Borobudur) พุทธสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งในประเทศอินโดนีเซีย ตั้งอยู่ที่เมืองยอร์กยาการ์ตา หรือ...